วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ความเกี่ยวพันระหว่าง Random กับการออกแบบเชิงทดลอง

การออกแบบ...เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นเพื่อการใช้สอยและความงดงาม เป็นการสื่อสารที่มีท่วงทีลีลา

Richard Saul Wurman พูดถึงคุณภาพของงานออกแบบว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน
(ตามสไตล์ของเขา..เขาวาดเป็นรูปทางขึ้นสู่ยอดเขา)
นั่นคือ ความกระจ่างทางเนื้อหา(Clarity) ความสร้างสรรค์ทางความคิด(Creativity) และอารมณ์ในการสื่อสาร (Joyfulness)

ในการแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการออกแบบ มีกระบวนหนึ่งที่เรียกว่า การออกแบบเชิงทดลอง (Experimental Design)เป็นกระบวนการที่มีพื้นฐานมาจากการตั้งข้อสงสัย (ซึ่งอาจมีที่มาจากการสังเกต)และนำมาตั้ง "คำถาม" เรียกเพราะๆว่า "สมมุติฐาน" แล้วสร้างกรรมวิธี มีชื่อฝรั่งว่า Treatment เพื่อทดสอบ..ทดลอง..เพื่อนำไปสู่ข้อสรุป

ข้อความข้างล่างนี้ คัดมาจากเอกสารชื่อ "เส้นทางสู่ครูผู้รู้" ตอนที่ 3
โดยสุพจน์ บุญแรง ศูนย์ประสานงานโครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อบทความไม่ค่อยเกี่ยวกับเราหรอก
แต่เนื้อหามันเกี่ยวนะครับ..เลยเอามาแสดงไว้ที่นี่

"...สำหรับเนื้อหาในตอนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเรื่องของการวางแผนการทดลอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะการวางแผนการทดลองที่ดีจะช่วยให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและช่วยให้นักวิจัยได้ข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์ ครอบคลุมประเด็นที่จะศึกษาทั้งหมด

การวางแผนการทดลอง (อย่างง่าย)
การวางแผนการทดลอง (experimental design) หมายถึง การจัดสิ่งทดลองให้กับกรรมวิธี หรือ ทรีทเมนต์ (treatment) ที่ปฏิบัติต่อสิ่งทดลองโดยอาศัยวิธีการสุ่ม (randomization)
ส่วนประกอบของการทดลอง
(1) กรรมวิธี หรือ ทรีทเมนต์ (treatment) คือ วิธีที่ปฏิบัติต่อสิ่งทดลอง เพื่อวัดผลเปรียบเทียบตามวัตถุประสงค์ของการทดลอง
(2) หน่วยทดลอง (experimental unit) หมายถึง สิ่งหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งของสิ่งทดลอง ซึ่งได้รับกรรมวิธีเดียวกันในการกระทำครั้งใดครั้งหนึ่ง
(3) ความคลาดเคลื่อนของการทดลอง (experimental error) หมายถึง ความผันแปรระหว่างหน่วยทดลองที่ได้รับทรีทเมนต์เดียวกัน ซึ่งอาจเกิดจากความผันแปรที่มีอยู่แล้วในตัวหน่วยทดลอง (inherent variability)
(4) การซ้ำ (replication) หมายถึง การที่มีทรีทเมนต์หนึ่งๆปรากฏในการทดลองมากกว่า 1 ครั้ง
(5) การสุ่ม (randomization) หมายถึง วิธีการจัดทรีทเมนต์ให้หน่วยทดลอง โดยคำนึงกฏแห่งโอกาส (law of chance) เพื่อให้มีหลักประกันว่าจะได้ไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบระหว่างทรีทเมนต์การสุ่มมีจุดประสงค์ คือ เพื่อขจัดความลำเอียงอันเกิดจากตัวผู้ทดลอง..."


หากสนใจติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม คลิกที่นี่ และ ที่นี่ ถ้าต้องการเพิ่มเติมอีกให้ไป ที่นี่ (เลยแล้วกัน)

2 ความคิดเห็น:

samrett_(ponk) กล่าวว่า...

ก้อ..เป็นคำแข็งๆ แบบวิชาการมากมาย
แต่ขอบอก..ว่าใครประยุกต์เป็นงานออกแบบได้..คุณเจอขุมทรัพย์เข้าแล้ว..

I am pop กล่าวว่า...

จริงๆแล้ว random เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากมาย จริงๆนะ


View My Stats