วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Rubik's Cube ความสนุกของคนช่างคิด



นอกจากข้อเขียนบรรยายใต้ภาพที่ปรากฏบนเว็บไซต์ ว่า "Rubik's Cube meets Pixel Art ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ผลงานการจัดวางลูกบิดให้กลายเป็นภาพสไตล์ Pixel Art ได้อย่างสุดงาม ลองพิสูจน์ด้วยสายตาของคุณเอง รับรองต้องทึ่งแน่แท้" ผมก็แทบจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงใดเกี่ยวกับผลงานชิ้นนี้เลย
แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาพผลงานชิ้นนี้หยุดอาการ Random สุ่มหาข้อมูลที่น่าสนใจประจำวันนี้ของผมไว้ได้อย่างถาวร (แค่วันนี้นะ) จากนั้นผมจึง link ไปยังแหล่งแสดงผลงานองมันก่อนหน้านี้ ก็พบว่าคือ http://www.space-invaders.com/rubikubism.html
ใช่แล้ว.. ถ้าใครพอจำได้ space-invaders คือ ผู้บุกรุกจากอวกาศที่เคยมาบุกกรุงเทพฯ เมื่อ 2 ปีก่อน และมีข่าวคราวการโจมตีด้วย Sticker Bomb หลายจุดในกรุงเทพฯ (พร้อมกัน) เพียงแต่ว่าไม่ก่อให้เกิดการสั่นคลอนต่อความมั่นคงของรัฐเฉกเช่นระเบิดปีใหม่ที่สะเทือนขวัญคนกรุง
Pixel Art เป็น keyword เป้าหมายของการเรียนรู้ต่อไป จากฐานความรู้เดิมที่ว่า หน่วยย่อยที่สุดของภาพคือ จุด
จุดจำนวนมากมายมหาศาลได้หลอมด้วยเป็นมวลกระทบต่อสายตา ความถี่ความห่างของมัน
สีของแต่ละจุด กระทำต่อแสง ก่อให้กิดคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน
กลายเป็นภาพที่ตกกระทบบนเรติน่าในดวงตาของเรา ดังนี้ถ้าเรากำหนดกติกาการสร้างจุด
ลักษณะของจุด การจัดวางจุด ก็ย่อมส่งผลต่อภาพรวมภาพใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


การทำรหัสสีเพื่อการแปรอักษรในมหกรรมกีฬาต่างๆ ก็ใช้หลักการทำนองเดียวกัน
การทำการฝีมือเช่น การปักครอสติช ก็ใช้หลักการทำนองเดียวกัน
การพิมพ์ในระบบออฟเซ็ท เกิดเป็นต่างๆนานสารพัน ก็ใช้หลักการเดียวกัน
มีอีกหลายสิ่งอย่าง..ที่เราได้พบเห็นมาแล้ว และก็ยังมีอีกหลายสิ่งอย่าง จะแสดงให้เราเห็นในเวลาต่อไป..

ไม่มีความคิดเห็น:


View My Stats